โดยที่ผู้วิจัยได้สรุปเป็นข้อมูลผลการสัมภาษณ์เชิงลึกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม
ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย เป็นข้อมูลสรุปสภาพปัจจุบัน
ปัญหาและความต้องการความร่วมมือรับการพัฒนา
เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลจริงทางการออกแบบการพิมพ์ (Printing Design)
และแนวทางการสร้างสรรค์ตราสัญลักษณ์ (Corporate Identity Design )และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ( Package Structural Design) รวม 1 รายดังนี้คือ 1.ชื่อผู้ประกอบการ กลุ่ม หจก. ทอปเฮิร์บลพบุรี อำเภอเมือง จำนวน 1 รายตารางที่ 4.5 ข้อมูลสรุปผลการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม หจก. ทอปเฮิร์บลพบุรี
ชื่อ-สกุลผู้ประกอบการ
|
1.นาย พัชรพงศ์ ปัญญาคุณานนท์
อายุ 40 ปี
วันที่ 22-10-2559
|
ที่อยู่
|
130/12 หมู่ที่ 9 ตำบลเขาพระงาม
อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15160
|
หมายเลขโทรศัพท์และโทรสาร
|
โทรศัพท์มือถือ 0942416705
|
E-mail /Website
|
http://www.toplopburi.com/
|
ตำแหน่งที่ตั้ง แผนที่
|
ตำแหน่งที่ตั้ง URL: https://goo.gl/R7IHVz พิกัดแผนที่บน GoogleMap 14.897639, 100.602730
|
ผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน
|
สบู่ที่มีผงถ่านไม้ไผ่เป็นส่วนผสมร่วมกับสมุนไพรสดต่างๆช่วยบำรุงผิวและปกป้องเซราไมด์ของผิวซึ่งเป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นเองทำหน้าที่เคลือบผิวชั้นบนสุดป้องกันไม่ให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นเป็นสาเหตุของผิวแห้งกร้าน
ตัวผงถ่านไม้ไผ่เป็นผงถ่านที่ได้มาจากการนำถ่านไม้ไผ่แท้ที่ผ่านการเผาที่ 1,000 องศา
เพื่อให้ได้ผงถ่านบริสุทธ์ซึ่งจะมีคุณสมบัติสามารถปล่อยประจุไฟฟ้าขั้วลบเพื่อให้ผิวสามารถรับออกซิเจนได้ดีขึ้นทั้งยังเป็นการขจัดไขมันส่วนเกิน
ซึ่งตัวผงถ่านจะช่วยขจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพและแห้งกร้านออกอย่างอ่อนโยน
และเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้นรวมกับการได้รับออกซิเจนเข้ามามากขึ้นเป็นการกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ที่ที่อ่อนโยน
สดใส และเนียนนุ่ม ลดริ้วรอยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี, ช่วยขจัดสิ่งสกปรกและสารตกค้างใต้ชั้นผิว
และ มีมอยส์เจอไรเซอร์ธรรมชาติ สะอาดล้ำลึก สัมผัสถึงความเนียนนุ่มได้เพียงครั้งแรกที่ใช้
|
ความคาดหวังภาพอนาคตขององค์กร ผลิตภัณฑ์และการบริการ ผู้ประกอบการต้องการให้ช่วยพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์
ให้แนวคิดแนวทางที่สอดคล้องกับตามความต้องการของผู้ซื้อในท้องตลาด
และมีรูปแบบที่น่าสนใจ น่าเชื่อถือ จดจำได้ง่าย
อาจสื่อสารถึงอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น
หรือเชื่อมโยงกับนโยบายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดลพบุรีต้องการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 1.
ต้องการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้สื่อถึงวัฒนธรรมของท้องถิ่นหรือจังหวัดของตน
2. ต้องการให้มีตราสัญลักษณ์
ที่จดจำง่ายมีมาตรฐานและใช้ในการจดทะเบียนการค้า
ภาพที่
4.12 ภาพแสดงการมีส่วนร่วมในการศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์เชิงลึก
ระหว่างนักวิจัย
ผู้ประกอบการ
ณ ที่ทำการกลุ่มหจก. ทอปเฮิร์บลพบุรี
ที่มา : รัชฏะ จิตจารุ, 2559
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้มอบให้ผู้วิจัยไปศึกษาเชิงลึกเพื่อการออกแบบตารางที่ 4.7 ผลิตภัณฑ์ศิวัตราที่มอบให้ศึกษาข้อมูลเชิงลึกทางกายภาพและคุณภาพ
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
ลำดับที่ |
รายการ |
รายละเอียด |
จำนวน |
หมายเหตุ |
1 |
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ |
สบู่สมุนไพร สูตรผงถ่านไม้ไผ่ |
1 ก้อน |
|
2 |
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ |
ผงถ่านไม้ไผ่ |
1
ถุง
|
|