วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

report sample

โดยที่ผู้วิจัยได้สรุปเป็นข้อมูลผลการสัมภาษณ์เชิงลึกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย เป็นข้อมูลสรุปสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการความร่วมมือรับการพัฒนา เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลจริงทางการออกแบบการพิมพ์ (Printing Design) และแนวทางการสร้างสรรค์ตราสัญลักษณ์ (Corporate Identity Design )และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ( Package Structural Design) รวม 1 รายดังนี้คือ            1.ชื่อผู้ประกอบการ กลุ่ม หจก. ทอปเฮิร์บลพบุรี อำเภอเมือง จำนวน 1 รายตารางที่ 4.5 ข้อมูลสรุปผลการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม            หจก. ทอปเฮิร์บลพบุรี

ชื่อ-สกุลผู้ประกอบการ
1.นาย พัชรพงศ์ ปัญญาคุณานนท์ อายุ  40  ปี
วันที่ 22-10-2559
ที่อยู่
130/12 หมู่ที่ 9 ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15160
หมายเลขโทรศัพท์และโทรสาร
 โทรศัพท์มือถือ 0942416705
E-mail /Website
http://www.toplopburi.com/
ตำแหน่งที่ตั้ง แผนที่
ตำแหน่งที่ตั้ง URL: https://goo.gl/R7IHVz พิกัดแผนที่บน GoogleMap 14.897639, 100.602730
ผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน

 
สบู่ที่มีผงถ่านไม้ไผ่เป็นส่วนผสมร่วมกับสมุนไพรสดต่างๆช่วยบำรุงผิวและปกป้องเซราไมด์ของผิวซึ่งเป็นไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นเองทำหน้าที่เคลือบผิวชั้นบนสุดป้องกันไม่ให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นเป็นสาเหตุของผิวแห้งกร้าน ตัวผงถ่านไม้ไผ่เป็นผงถ่านที่ได้มาจากการนำถ่านไม้ไผ่แท้ที่ผ่านการเผาที่ 1,000 องศา เพื่อให้ได้ผงถ่านบริสุทธ์ซึ่งจะมีคุณสมบัติสามารถปล่อยประจุไฟฟ้าขั้วลบเพื่อให้ผิวสามารถรับออกซิเจนได้ดีขึ้นทั้งยังเป็นการขจัดไขมันส่วนเกิน ซึ่งตัวผงถ่านจะช่วยขจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพและแห้งกร้านออกอย่างอ่อนโยน และเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้นรวมกับการได้รับออกซิเจนเข้ามามากขึ้นเป็นการกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ที่ที่อ่อนโยน สดใส และเนียนนุ่ม ลดริ้วรอยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี, ช่วยขจัดสิ่งสกปรกและสารตกค้างใต้ชั้นผิว และ มีมอยส์เจอไรเซอร์ธรรมชาติ สะอาดล้ำลึก สัมผัสถึงความเนียนนุ่มได้เพียงครั้งแรกที่ใช้

ความคาดหวังภาพอนาคตขององค์กร ผลิตภัณฑ์และการบริการ  ผู้ประกอบการต้องการให้ช่วยพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ ให้แนวคิดแนวทางที่สอดคล้องกับตามความต้องการของผู้ซื้อในท้องตลาด และมีรูปแบบที่น่าสนใจ น่าเชื่อถือ จดจำได้ง่าย อาจสื่อสารถึงอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น หรือเชื่อมโยงกับนโยบายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดลพบุรีต้องการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์      1. ต้องการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้สื่อถึงวัฒนธรรมของท้องถิ่นหรือจังหวัดของตน
                2. ต้องการให้มีตราสัญลักษณ์ ที่จดจำง่ายมีมาตรฐานและใช้ในการจดทะเบียนการค้า



ภาพที่ 4.12 ภาพแสดงการมีส่วนร่วมในการศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์เชิงลึก ระหว่างนักวิจัย
ผู้ประกอบการ ณ ที่ทำการกลุ่มหจก. ทอปเฮิร์บลพบุรี
ที่มา : รัชฏะ จิตจารุ, 2559
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้มอบให้ผู้วิจัยไปศึกษาเชิงลึกเพื่อการออกแบบตารางที่ 4.ผลิตภัณฑ์ศิวัตราที่มอบให้ศึกษาข้อมูลเชิงลึกทางกายภาพและคุณภาพ

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

ลำดับที่

รายการ

รายละเอียด

จำนวน

หมายเหตุ

1

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

สบู่สมุนไพร สูตรผงถ่านไม้ไผ่

1 ก้อน

 

2

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

ผงถ่านไม้ไผ่

1 ถุง


วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ส.3 การสรุปผล (Result)

ส.3 การสรุปผล (Result)


ภาพสบู่ที่ออกแบบ




QR code


3D 







ส.2 การสร้างสรรค์สมมุติฐาน (Resume)

ส.2 การสร้างสรรค์สมมุติฐาน (Resume)


LOGO


รูบแบบบรรจุภัณฑ์







ส.1 สืบค้นข้อมูล (Research)

ส.1 สืบค้นข้อมูล (Research)


ชื่อผู้ประกอบการ กลุ่ม หจก. ทอปเฮิร์บลพบุรี อำเภอเมือง จังหวัด ลพบุรี
นาย พัชรพงศ์ ปัญญาคุณานนท์ อายุ  40  ปี 
ที่อยู่ 130/12 หมู่ที่ 9 ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15160
โทรศัพท์มือถือ 0942416705
Website http://www.toplopburi.com/





สรุปการสัมมนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ KIM PAI

สรุปสัมมนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ KIM PAI


 สร้างบรรจุภัณฑ์ควรคำนึงถึง
- ตัวบรรจุภัณฑ์เหมาะสมกับสินค้า
- ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
- สะดวกในการใช้งาน
- ผลิตได้จริง สะดวกต่อขั้นตอนการพิม์นั้นๆ
- ความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์ ต่อการเคลื่อนย้าย ฯลฯ
- ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรต่อโลก

บรรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก
- บรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิ Primary Packaging
- บรรจุภัณฑ์ทุติภูมิ  Secondary Packaging
- บรรจุภัณฑ์รวมหน่วย Multipack
- Shelf ready packaging   (SRP)

การออกแบบโลโก้ที่ได้ผลสำเร็จสูงสุด
1.ต้องจำได้เป็นที่ขึ้นใจ
2.ลงตัว,และเหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์นั้นๆ
3.เรียบง่าย แต่ต้องเป็นการเรียบง่ายที่มีความหมาย ไม่ใช่การเรียบง่าย
  โดยไม่ผ่านกระบวนการความคิด


โลโก้ที่ดี คือ ต้องมี
memorable
appropriate
simple




วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

 ประเภทของบรรจุภัณฑ์
          
ประเภทของบรรจุภัณฑ์ แบ่งได้ 3 ประเภท
1. บรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วย  ( Individual  Package ) คือ  บรรจุภัณฑ์ชั้นแรกที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและการโฆษณา มีรูปร่างหลายลักษณะ เช่น ขวด  กระป๋อง  หลอด  กล่อง  ถุง  เป็นต้น  ซึ่งจะทำให้มีรูปร่างที่เหมาะสมกับการจับ  การถือ  และช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน  พร้อมทั้งทำหน้าในการป้องกันผลิตภัณฑ์โดยตรง
2 . บรรจุภัณฑ์ชั้นใน  ( Inner  Package )  คือ บรรจุภัณฑ์ที่อยู่ถัดออกไปเป็นชั้นสอง มีหน้าที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์ ชั้นแรกเข้าไว้ด้วยกันเป็นชุด  และป้องกันสินค้าจากความชื้น ความร้อน แสงแดด การกระทบกระเทือนและอำนวยการความสะดวก ในการขายปลีกและขายส่ง เช่น กล่องกระดาษที่บรรจุ เครื่องดื่มจำนวน 6 ขวด  ฟิล์มหดรัดรูปสบู่จำนวน 6 ก้อน
3. . บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกสุด  ( Outer  Package )  คือ  บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหน่วยรวมขนาดใหญ่ที่ใช้ในการขนส่ง  โดยปกติผู้ที่ซื้อไม่ได้เห็นบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้  เนื่องจากทำห้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์ในระหว่างขนส่ง เท่านั้น  ลักษณะบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้  เนื่องจากทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์ในระหว่างขนส่งเท่านั้น ลักษณะบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ได้แก่  หีบไม้  ลังไม้  กล่องกระดาษใหญ่  ภายนอกจะบอกเพียงรหัสสินค้า เลขที่  ตราสินค้า  สถานที่ส่ง  เป็นต้น
 วัสดุและรูปแบบของบรรจุภัณฑ์
   
วัสดุบรรจุภัณฑ์ หมายถึง วัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ โดยการนำคุณสมบัติที่ดีเด่นของวัสดุต่างชนิดกัน  มาสร้างสรรค์ดัดแปลงให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์  เพื่อการขนส่งและการจำหน่าย
วัสดุภัณฑ์แบ่งได้  4  ประเภท
1.บรรจุภัณฑ์ประเภทเครื่องแก้ว ( Glassware )  เป็นการนำทรายหรือที่เราเรียกว่า ซิลิกา  ( SiO 2 ) มีความบริสุทธิ์   99.5 %  โซดาแอซ  ( Na2Co3 )  หินปูน ( CaO ) หินฟันม้า  ที่มีส่วนประกอบของ SiO 2  และ A1 2  O3  หินโดโลไมต์  ที่มีส่วนประกอบของ  CaO  และ  MaO  มาหลอมที่อุณหภูมิ 2,800 องศาเซลเซียสแล้วนำไปขึ้นรูปเประภาชนะที่ต้องการ เช่น  ขวดแก้ว  คนโท  จาน  ชาม  แก้วน้ำ  เป็นต้น  เครื่องแก้วแบ่งเป็นได้  4 ประเภท1.1 แก้วบอโรซิลิเกต  ทำมาจากโบรอนไตรออกไซด์  ซึ่งมีคุณสมบัติในการทนท้านสูงนิยมนำมาใช้ผลิตเป็นภาชนะบรรจุยาสำหรับฉีด1.2 แก้วโซดาไลม์  ทำมาจากโซดาไลม์  ทรายโซดาแอซ  ที่ผ่านกรรมวิธีอัลคาไลส์อย่างเหมาะสม  มีความทนต่อกรดและด่างสูงนิยมนำมาใช้ผลิตภาชนะบรรจุยาสำหรับฉีดที่มีความเป็นกรด หรือด่าง  หรือเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ  เช่น  บิกเกอร์  หลอดทดลอง1.3 แก้วโซดาไลม์ ที่ไม่ใช้ทำภาชนะบรรจุยาสำหรับฉีด ยกเว้นยาฉีดที่ทดสอบความคงตัวแล้ว  ไม่มีกีเปลี่ยนแปลงเมื่อบรรจุในภาชนะที่ทำจากแก้วนิยมนำมาใช้เป็นภาชนะบรรจุในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น  อุตสาหกรรมเบียร์  น้ำอัดลม  อาหาร  เครื่องสำอาง  จาน  ชาม 1.4แก้วโซดาไลม์  ที่นำมาใช้ผลิตภาชนะบรรจุยาที่ใช้สำหรับรับประทานหรือยาที่ใช้เฉพาะที่  แต่ไม่นิยมใช้เป็นภาชนะบรรจุยาสำหรับฉี
     2. บรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋อง  (CAN) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากการใช้งานที่สะดวก  รูปร่างแปลกใหม่  กระป๋องทำจากวัสดุหลายประเภท เช่น โลหะพลาสติก กระดาษ เป็นต้น เราจำแนกกระป๋อง ได้เป็น  4  ประเภทดังน้
    2.1 กระป๋องบรรจุอาหารและเครื่องดื่มเป็นการนำโลหะมารีดเป็นแผ่น แล้วนำไปขึ้นรูปตามความต้องการได้แก่ 2.1.1  แผ่นเหล็กเคลือบดีบุก  เป็นแผ่นเหล็กดำ
    นำมาเคลือบผิวหน้าด้านเดียว
    หรือทั้งสองด้านด้วยดีบุก มีความหนา
    ประมาณ 0.15-0.5 มิลลิเมตร
    เพื่อให้ทนต่อการผุกร่อนแล้วไม่เป็นพิษ
                 2.1.2  แผ่นเหล็กไม่เคลือบดีบุก  เป็นแผ่นเหล็กที่นำวัสดุอื่นมาเคลือบแทนดีบุกเพื่อลดต้นทุนในการผลิต  เช่น  นำโครเมตผสมฟอสเฟต  มาเคลือบกระป๋องใช้บรรจุเบียร์  น้ำผลไม้และถังโลหะชนิดต่าง ๆ  นำโครเมียมผสมโครเมียมออกไซด์  เพื่อป้องกันการกัดกร่อนนิยมนำมาใช้บรรจุอาหารทะเล  นมข้นหวาน
                    2.1.3  อะลูมิเนียมหรือโลหะผสมอะลูมิเนียม  มีคุณสมบัติที่ดี คือ น้ำหนักเบาทนทานต่อการกัดกร่อนเนื่องจากความชื้น  แต่ไม่สามารถใช้กับอาหารที่มีความเป็นกรดเป็นด่างสูงนิยม นำมาใช้กับกระป๋องบรรจุเบียร์ น้ำอัดลม  กระป๋องสำหรับฉีดพ่น กระป๋องบรรจุเครื่องสำอาง

    2.2  กระป๋องกระดาษ (  Composite  Can ) ประกอบด้วยกระดาษมาตรฐาน  180 กรัม ต่อตารางเมตร  นำมาประกอบกับแผ่นอะลูมิเนียมเปลวแล้วประกบกับฟิล์มเอทีลีน  ( Ethylene )  อีกชั้นหนึ่ง โดยใช้กระดาษอยู่ที่ชั้นนอกพลาสติกอยู่ชั้นในมีกระบวน การผลิต  2 วิธี
                 2.2.1  แบบ Spiral  Winding  เป็นการม้วนกระดาษพับเป็นเกลียวเฉียงขึ้นไป  เหมือนกับแกนของกระดาษชำระ  เมื่อพันเสร็จแล้วยังไม่แห้ง  หลังจาปล่อยให้หายแล้วจึงตัดเป็นท่อนนิยมใช้บรรจุอาหารประเภทขนมขบเคี้ยว
                 2.2.2  แบบ Parallel  Winding  ใช้กระดาษชุบกาวพับรอบแกนทับกันไปเรื่อย ๆ จนได้ความหนาที่ต้องการ นิยมใช้บรรจุสินค้าทีมีน้ำหนักมาก  เช่น  ถังบรรจุสารเคมี  ตู้เย็น  เครื่องซักผ้า
    2.3  กระป๋องยุคอวกาศ  เป็นภาชนะที่ใช้สำหรับบรรจุอาหารที่ได้รับกาพัฒนา  ให้เป็นภาชนะที่สามารถอุ่นหรือแช่เย็นอาหารได้ โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานหรืออุปกรณ์ใด ๆ  เช่น  ก๊าซ  ไฟฟ้า  ตู้เย็น  ตู้อบ
    - ภาชนะบรรจุอาหารที่อุ่นอาหารได้เอง  อาศัยปฏิกิริยาเคมีระหว่างแคลเซียมออกไซด์กับน้ำ  แต่อาจจะมีการเติมโดโลไมต์  แมกนีเซียมออกไซด์ลงไปด้วยก็ได้  เมื่อปฏิกิรกยาเคมีเกิดขึ้นจะมีอุณหภูมิสูงถึง 240 – 260 องศาเซลเซียส  ภายในเวลา 3 -5 นาที และมีไอน้ำเกิดขึ้นมากจึงต้องมีวัสดุดูดซับไอน้ำไว้  ส่วนใหญ่เราใช้กระดาษ  ผ้าวัสดุดูดซับไอน้ำ เนื่องจากความร้อนที่เกิดอุณหภูมิสูง  วัสดุที่นำมาผลิตเป็นภาชนะต้องเป็นภาชนะต้องเป็นวัสดุที่ทนความร้อนได้ดี  เช่น  อะลูมิเนียม  พลาสติกชนิดพอลิโพรไพลีน (  Polyproplyene  : PP )
    - ภาชนะบรรจุอาหารที่แช่เย็นได้เอง อาศัยปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารผสมของ
    แอมโมเนียมไนเตรต กับแอมโมเนียมคลอไรด์กับน้ำเมื่อเกิดปฏิกิริยาขึ้นจะทำให้อุณหภูมิิลดลงใกล้เคียงจุดเยือกแข็งประมาณ7องศาเซลเซียส ภายในระยะเวลา  3- 5 นาที
              
    2.4  กระป๋องวัสดุร่วม  เป็นกระป๋องที่ตัวและฝากระป๋องที่ตัวและฝากระป๋องทำมา  จากวัสดุต่างชนิดกัน  เช่น  ตัวกระป๋องทำจากกระดาษหรือพลาสติก  ฝาทำจากโลหะ  จะเห็นได้ว่าวัสดุทีทนำมาใช้ในกระบวนการผลิตมีหลากหลาย  ดังนั้นกรรมวิธีในการขึ้นรูปจึงขึ้นอยู่กับ ชนิดของวัสดุที่นำมาใช้               
2.5  กระป๋องฉีดพ่นหรือกระป๋องสเปรย์  ( Aerosols )
คือบรรจุภัณฑ์ที่อัดด้วยความดัน และมีวาลว์  สำหรับฉีดพ่น ได้แก่ เครื่องสำอางน้ำยาระงับกลิ่น  ครีมโกนหนวด  น้ำหอม ยาฆ่าแมลงสีพ่นรถยนต์  เป็นต้น   วัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตกระป๋องฉีดพ่น มีหลากหลายชนิด  อาทิ แก้วพลาสติก อะลูมิเนียม  โลหะเคลือบผิว  ซึ่งก็มีข้อดี  ข้อเสียต่างกัน  ดังนั้นในการเลือกใช้วัสดุต้องคำนึง ถึงผลิตภัณฑ์ที่นำมาบรรจุ  เช่น ผลิตภัณฑ์พ่นที่มีการกัดกร่อนโลหะ
หรือไม่ต้องการให้เกิดปฏิกิริยากับสารอื่น ก็ควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากแก้ว  แต่แก้วมีข้อเสียตรงที่แตกง่ายและทนต่อแรงดันน้อย  ดังนั้นในกระบวนการผลิตมักเคลือบด้วยพลาสติกจำพวก  พอลิไวนิลลิดีนคลอไรด์ ( Polyvinylidinechloride : PVDC )  เพื่ออุดรอยรั่วและทำให้แก่วมีความทนทานต่อแรงดันภายในได้
 3. บรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติก ( Plastics ) 
                พลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่เรียกว่า
พอลิเมอร์  (Polymer) เกิดจากกระบวนการรวมตัวกัน ของ โมโนเมอร์  (Monomer) หลาย ๆ โมเลกุลเข้าด้วยกันด้วยกระบวนการ พอลิเมอร์ไรเซชั่น ( Polymerization)ดังสมการ
    พลาสติกจัดเป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ในสภาวะปกติ
จะแข็งตัวแต่สามารถทำให้เหลวได้  หากใช้ความร้อนและความดันที่เหมาะสม พลาสติกที่นิยมนำมาใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ คือ พอลิเอทาลีน (Polyethylene  : PE) พอลิโพรไพลีน (Polypropylene :PP)  พอลิไวนิลคลอไรด์ ( Polyvinylchloride : PVC )พอลิสไตรีน(Polystyrene : PS )
พอลิเอไมด์ ( Polyamide : PA ) พอลิเอทีลีนเทเรฟทาเลต ( Polyethylene Telleftalate :PET  )
พอลิไวนิลลิดีนคลอไรด์  ( Polyvinylidinechloride : PVDC )  พลาสติกที่นำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์
จำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ
                3.1  พวกที่เปารีดเป็นแผ่นหรือเรียกกันว่า  ฟิล์ม  ใช้ทำถุงหรือห่อรัดสินค้า
เช่น ฟิล์มยืด  ฟิล์มหด  การผนึกแบบแผ่น
                3.2  พวกที่ขึ้นรูปเป็นภาชนะบรรจุคงรูป  เช่น  ขวด   กล่อง   ถัง   ลัง   โฟม   ตะกร้า
           
3.1 พวกที่เปารีดเป็นแผ่น ได้แก่         
       3.1.1  ฟิล์มยืด  (  Stretch Film )  คือ ฟิล์มพลาสติกชนิดหนึ่ง  ที่มีความเหนียวและความ
ยืดหยุ่นตัวสูง  ฟิล์มยืดจะเกาะติดกันเองได้เมื่อดึงฟิล์มให้ยืดออกเล็กน้อย  ทำให้สะดวกในการห่อรัดสินค้านิยมนำมาใช้ห่อรัดผลิตภัณฑ์ที่เสียง่ายเมื่อถูกความร้อน  เช่น  ผัก  ผลไม้  เนื้อสัตว์และอาหารสด ซึ่งวางขายตามซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป  พลาสติกที่นำมาใช้ผลิตฟิล์มยืด  คือ  พอลิเอทาลีน
( Polyethylene  : PE )  )   พอลิโพรไพลีน   ( Polypropylene : PP )  พอลิไวนิลคลอไรด์
( Polyvinylchloride : PVC )   โดยในกระบวนการผลิตจำเป็นต้องเติมสารบางชนิดลงไปเพื่อเพิ่ม
คุณภาพที่ดีขึ้น  ได้แก่
             (1)  สารเกาะติด  ( Cling  Agent )  เพื่อช่วยให้ฟิล์มยืดเกาะติดกันได้ดีขึ้น  เมื่อใช้ห่อสินค้า
             (2)  สารป้องกันออกซิเดชั่น  เพื่อป้องกันการสลายตัวของพลาสติก  ในระหว่างการผลิต
             (3)  สารป้องกันการเกาะติด (Antiblock  Agent) ปงกันฟิล์มยืดเกาะติดกันแน่นขณะม้วนหรือพับกันเป็นขดใหญ่
              (4)  สารป้องดกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต  ( UV  Inhibitor )  เพื่อเป็นการยืดอายุของฟิล์มยืดในการใช้งาน นอกอาคาร
              3.1.2  ฟิล์มหด  ( Shrink  Film )  คิพลาสจติกที่ทำให้เรียงตัวกันในขั้นตินของการผลิตฟิล์ม  พลาสติกที่นำมาผลิตเป็นฟิล์มหด คือ พอลิไวนิลคลอไรด์ ( Polyvinylchloride : PVC ) และพอลิเอทีลีนชนิดความ หนาแน่นต่ำ ( Low   Doensity  Polyethylene  : LDPE )  การใช้งานทำได้โดยการนำฟิล์มมาทำเป็นถุงแล้วสวมครอบสินค้าอย่างหลวม ๆ จากนั้นนำไปผ่านความร้อน
ซึ่งได้มาจาก ปืนก๊าซหรืออุโมงค์ความร้อน เป็นผลให้ฟิล์มหดตัวและรัดแน่นติด กับสินค้าที่ครอบอยู่
นิยมนำไปห่อรัดสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีหลายชิ้นให้เป็นหน่วยเดียวกัน  เพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้าและเก็บรักษา  เช่น  กระดานไวท์บอร์ด  เครื่องเขียน  สมุด  ใช้หุ้มสินค้าปลีกกับของแถมเข้าด้วยกันเป็นต้น
                การผนึกแบบแผ่น    เป็นการหีบห่อสินค้าที่อาศัยเพียงพลาสติกกับแผ่นกระดาษแข็ง ๆ
ก็สมารถห่อหุ้มสินค้าได้ มี  2 วิธี  คือ
               (1)  การผนึกแบบบลิสเตอร์  (Blister  Packaging )  เป็นกานนำพลาสติกประเภทเซลลูโลส พอลิไวนิลคลอไรด์  ( Polyvinylchloride : PVC )   พอลิสไตรีน (Polystyrene : PS )  ที่ขึ้นรูปตามรูปร่างของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์  มีแผ่นกระดาษแข็งรองด้านล่าง  โดยสารเคลือบให้ผนึกติดกัน  สินค้าที่นิยมบรรจุด้วยวิธีนี้  ได้แก่  เครื่องสำอาง  ของเล่น  อุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก  เป็นต้น
              (2)  การผนึกแบบสกิน  ( Skin  Packaging ) เป็นการนำตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มาเป็นแบบให้กับแผ่นพลาสติก โดยพลาสติกที่ใช้ได้แก่ พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride :PVC)            
พอลิเอทาลีน  ( Polyethylene  : PE )   และไอโอโนเมอร์  และทำการบรรจุแบบสุญญากาศ  ทำให้แผ่นพลาสติกแนบติดกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์  ผลิตภัณฑ์ที่นิยมบรรจุด้วยวิธีนี้ได้แก่  ตะเกียง
เครื่องพิมพ์ดีด  กระเบื้อง  แก้วเจียรใน  เป็นต

3.2 พวกที่ขึ้นรปูเป็นภาชนะบรรจุคงรูป  ได้แก่       
      3.2.1  ขวดพลาสติก  นิยมนำมาใช้แทนขวดแก้ว  เพราะผลิตได้รวดเร็ว  สวยงาม  ราคาถูก
เนื่องจากขวดพลาสติกเป็นภาชนะบรรจุชนิดแข็ง  ( Rigid  Container )  มีประโยชน์ในการคุ้มครองสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั้งทางด้านความแข็งแรงด้านคุณภาพ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติกที่นำมาใช้ในการผลิต  พลาสติกที่นำมานิยมผลิตเป็นขวดพลาสติก  มีคุณสมบัติและประโยชน์การนำไปใช้
ดังนี้
นิดพลาสติกและการนำไปใช้ประโยชน์ 
- พลาสติกชนิดพอลิเอทีลีนชนิดความหนาแน่นสูง ( High  Density Polyethylene : HDPE)

      คุณสมบัติ หลอมตัวที่ 121 องศา เซลเซียส  ติดไฟง่าย มีกลิ่นเหม็นเหมือนขี้ผึ้งพาราฟิน
ป้องกันน้ำซึมผ่านได้ไม่ทนต่อไขมัน น้ำมัน กรด 

      การนำไปใช้ประโยชน ขวดนม  กล่องผงซักฟอก ขวดน้ำดื่ม  ที่ใส่เครื่องสำอางพลาสติกชนิดพอลิเอทีลีนชนิดความหนาแน่นสูง ( High  Density Polyethylene : HDPE       คุณสมบัติ หลอมตัวที่ 149 องศา เซลเซียส ติดไฟง่าย ไม่ดับเอง มีกลิ่นเหม็นเหมือนขี้ผึ้งพาราฟิน
  ป้องกันน้ำซึมได้ดี  ทนกรดได้ปานกลาง  ไม่ทนความเย็น
     การนำไปใช้ประโยชน ขวดยา  ขวดบรรจุน้ำผลไม้  ขวดแชมพู  ขวดบรรจุเครื่องสำอาง
- พอลิไวนิลคลอไรด์ ( Polyvinylchloride : PVC )        คุณสมบัติ หลอมตัวที่ 74-93 องศา เซลเซียส  ติดไฟค่อนข้างยากและดับ  มีกลิ่นเหม็นเหมือน
ขี้ผึ้งพาราฟิน  ป้องกันน้ำซึมได้ดี  ทนกรดได้ดี 

       การนำไปใช้ประโยชน์ ขวดน้ำมันพืช  ขวดน้ำส้มสายชู ขวดเครื่องสำอาง ขวดบรรจุผลิตภัณฑ์เคมี 
พอลิสไตรีน  (Polystyrene : PS )
     คุณสมบัติ หลอมตัวที่ 70-107 องศา เซลเซียส ติดไฟง่าย  ดับเอง  มีควันดำ มีกลิ่นเหมือนดอกไม้
ทนกรดได้ปานกลาง 

     การนำไปใช้ประโยชน์ ขวดบรรจุยา ขวดบรรจุวิตามิน  ขวดบรรจุเครื่องเทศ  ขวดบรรจุนม 
พอลิเอทีลีนเทเรเลต( Polyethylene    Telleftalate  : PET ) 
      คุณสมบัต หลอมตัวที่ 250 องศา เซลเซียส   ติดไฟง่าย  ไม่ดับเอง  มีกลิ่นทำให้เวียนศีรษะ
มีลักษณะใสเหมือนแก้ว ป้องกันน้ำ  ไขมัน   ก๊าซออกซิเจน
  ก๊าซคาร์บอนไดออกด์ได้ดี
     การนำไปใช้ประโยชน์ ขวดน้ำอัดลม  ขวดเบียร์ ขวดแชมพู  ขวดโคโลญ ขวดโลชั่น        
           3.2.2 รีทอร์ต  เพาซ์ ( Retort  Pouch  )  เป็นบรรจุภัณฑ์รูปแบบหนึ่งที่สามารถบรรจุสินค้า
หรือผลิตภัณฑ์แล้วนำไปฆ่าเชื้อด้วยความร้อน  คุณสมบัติของ2 รีทอร์ต  เพาซ์  ต้องทนอุณหภูมิ
ที่ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส   และสูงถึง 120 องศาเซลเซียส  ช่วยในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไว้ได้นาน
หลายปี รูปทรงของรีทอร์ตเพาซ์ที่นิยมมากที่สุดคือ  เป็นถุงประกอบด้วยฟิล์มพลาสติกซ้อนกันหลาย
ชั้นมักมีการเสริมด้วย อะลูมิเนียมฟอยด์  เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการกันน้ำและก๊าซได้  นิยมนำมาใช้
ในการบรรจุอาหาร
           3.2.3 โฟม  ( Foam )  เป็นพลาสติกประเภทหนึ่ง  โดยการนำเม็ดพลาสติก อาทิ
( Polyethylene  : PE )  พอลิสไตรีน (Polystyrene : PS )  พอรียูรีเทน ( Polyulytane : PU )
พลาสติก ที่นิยม ใช้มากที่สุด คือ พอลิสไตรีนที่ขยายตัวแล้วเรียกว่า  Expanted  Polystyrene ( EPS)
นำมาเติมสารเร่งฟู จำพวก ไฮโดรคาร์บอน  เช่น เพนเทน ฟรีออน แล้วใช้ความร้อยเข้าไป
จนกระทั่งสารเร่งฟูเกิดการสลายตัว กลาย เป็นก๊าซ
  ซึ่งก๊าซที่เกิดขึ้นนี้จะแทรกตัวเข้าไปในเนื้อของพลาสติกทำให้เกิดโพรงจากนั้นนำมารีดเป็นแผ่นแล้ว
จึงนำไปบ่ม โดยใช้อุณหภูมิ  100 องศาเซลเซียส ประมาณ 3 – 6 วัน เพื่อทำให้โฟมเกิดการพองตัว
มีความนุ่มและยืดหยุ่น อย่างถาวร  บรรจุภัณฑ์โฟมมีหลายแบบ เช่น ถาดแบน ถาดหลุม กล่องที่มีฝาปิด นิยมนำมาใช้บรรจุผลไม้ ผักอาหารแห้ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป เนื่องจากดูสะอาดและสวยงาม เก็บรักษาความร้อย ความเย็นของผลิตภัณฑ์ได้ดี ไม่ดูดน้ำและน้ำมัน  มีความเป็นกลางและปลอดภัยในการสัมผัสอาหาร  และช่วยเก็บความสดของอาหารไว ้ในระยะสั้น ๆ ได้ในขณะจัดจำหน่ายหรือในการขนส่ง
         3.2.4  หลอดลามิเนต  ( Laminate  Tube )  เป็นหลอดพลาสติก  ประกอบด้วยพลาสติกซ้อนกันหลายชั้น หนาประมาณ 0.33 มิลลิเมตรมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับหลอดโลหะ  ตัวหลอดทำมาจากวัสดที่สามารถป้องกัน ความชื้นและออกซิเจน ซึ่งเป็นผลทำให้ผลิตภัณฑ์เสียหาย  ตัวหลอดทำมาจากพลาสติกบ้างประเภท พอลิบิวทีลีนเทอร์ฟะทาเลต( Polybutylene  Terephthallate : PBT ) หรือ พอลิโพไพรลีน(  Polybutylene  : PP )  ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันก๊าซและไอน้ำ นิยมนำมาบรรจุผลิตภัณฑ์หลายชนิด  เช่น  กาว  สี  ยา  และผลิตภัณฑ์ บำรุงเส้นผม  กระบวนการผลิตหลอดลามิเนตมี  2 แบบ
         ( 1 )  การประกอบแบบอัดรีด  ( Extrucsion  Laminate )  เป็นการนำแผ่นพลาสติกกับแผ่นเปลวอะลูมิเนียม   มาอัดเป็นแผ่นเดียวกั-น  ซึ่งมีคุณสมบัติสกัดกั้นความชื้นและออกซิเจน
        ( 2 )  การประกอบแบบรีดร่วม  (  Coextrusion  Laminate )  เป็นการนำแผ่นพลาสติกกับ
แผ่น  EVOHซึ่งเป็นแผ่นพลาสติกใสนำมารีดให้เป็นแผ่นเดียวกัน  ทำให้ตัวหลอดมีลักษณะเนื้อเดียวกัน
ไม่มีรอยต่อ  จึงมีคุณสมบัติที่ดีกว่าแบบอัดรีด  แต่มีค่าใช้จ่ายในกา
รผลิตสูง
 4.  บรรจุภัณฑ์ที่ได้จากไม้  ( Wood  Products )
ไม้เป็นวัสดุที่นำมาใช้เป็นหีบห่อที่เก่าที่สุดในโลกจนถึงปันจุบันไม้ก็ยังเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมอย่างเช่นเคยถึงแม้ว่ามีวัสดุอื่นมาทดแทนได้  แต่ส่วนใหญ่ยังคงใช้ไม้เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทาน กว่าวัสดุอื่นแต่มีปัญหาด้านการทำลาย  และข้อจำกัดของผู้นำเข้าสินค้า  เช่น  การห้ามใช้สารบ้างชนิด เพื่อรักษาเนื้อไม้ การเปิดตรวจสอบของกรมศุลกากร  ดังนั้นในการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ของสินค้า วิธีการขนส่ง  ระยะเวลาในการขนส่ง น้ำหนัก
บรรทุก การเข้ามุมของไม้และประเภทของไม้ที่นำมาผลิต เป็นต้น
        ไม้เป็นวัสดุที่นำมาใช้เป็นหีบห่อที่เก่าที่สุดในโลก  จนถึงปันจุบันไม้ก็ยังเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมอย่างเช่นเคย  ถึงแม้ว่ามีวัสดุอื่นมาทดแทนได้  แต่ส่วนใหญ่ยังคงใช้ไม้เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทานกว่าวัสดุอื่น แต่มีปัญหาด้านการทำลาย  และข้อจำกัดของผู้นำเข้าสินค้า  เช่น  การห้ามใช้สารบ้างชนิดเพื่อรักษาเนื้อไม้ การเปิดตรวจสอบของกรมศุลกากร  ดังนั้นในการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม้ต้อคำนึงถึงความเหมาะสม ของสินค้า  วิธีการขนส่ง  ระยะเวลาในการขนส่ง  น้ำหนักบรรทุก  การเข้ามุมของไม้
และประเภทของไม้ที่นำมาผลิต  เป็นต้น    
        4.1  ประเภทของไม้ที่นำมาผลิตบรรจุภัณฑ์ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท
               4.1.1  ไม้แผ่น  คือ  ไม้ที่ได้จากการเลื่อยซุงเอาเปลือกออก ขนาดของไม้ที่นิยมนำมาทำหีบห่อมี ขนาด 50 x 50  มิลลิเมตร  หรือ 125 x 20  มิลลิเมตร  เป็นต้น  ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
               4.1.2  เป็นการนำไม้ซุงให้เป็นแผ่นบาง  เรียกว่า  วีเนียร์  ( Veneer  )  มีลักษณะผิวเรียบ
ความหนาสม่ำเสมอมีความชื้นร้อยละ 2 – 3 แล้วนำมาวางเรียงซ้อนกันโดยแต่ละชั้นให้ขวางเส้นใยกันตั้งแต่3ชั้น ขึ้นไป  ยิ่งมากชั้นคุณภาพยิ่งดี  เพราะโอกาสโค้งงอมีน้อยจากนั้นใช้กาวติด  แล้วอัดด้วยความร้อน ไม้อัดขนาด มาตรฐานที่นำมาใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์  คือ  ขนาด 2,400 x 1,200  มิลลิเมตร
             4.1.3  แผ่นเส้นใยไม้อัด  เป็นการนำเศษไม้มาย่อยเป็นเศษใย  นำไปผสมกาวอัดเป็นแผ่น  เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องการความทนทานมากนัก  แต่หากต้องการความแข็งแรงต้องใช้ไม่อื่นมาประกบ  เพื่อเสริมความแข็งแรง  แบ่งได้เป็น  2 ชนิด
             ( 1 )  เส้นใยไม้อัดชนิดมาตรฐาน  มีความหนาประมาณ 2 – 6มิลลิเมตร ทนต่อแรงกดดันได้
800กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
             ( 2 )  เส้นใยไม้ชนิดทนต่อความชื้น มีความหนาประมาณ 3 – 12 มิลลิเมตร ทนต่อแรงกดดันได้960กิโลกรัมต่อลูกบาศ์เมตร
            4.1.4  แผ่นขชิ้นไม้อัด  เป็นการนำไม้ซุงมาลอกเปลือกออกตัดเป็นท่อน  จากนั้นทำให้เป็นเกล็ดอบให้แห้งแล้วผสมกาวอัดให้เป็นแผ่น  เหมาะสำหรับใช้ทำลังหรือแผ่นรองรับสินค้าเนื่องจากเบาแล้วมีความแข็งแรง พอสมควร  แบ่งได้  3 ชนิด
              ( 1 )  แผ่นชิ้นไม้สับ(  Chipboard ทำจากไม้อัดติดกับกาว มีความหนาประมาณ 3- 50 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับทำเป็นแท่นรองรัยสินค้า แต่ไม่เหมาะกับการทำเป็นหีบห่อสินค้า เพราะมีความแข็งแรงต่อน้ำหนักต่ำ
              ( 2 )  แผ่นเกล็ดไม้อัด  ( Waferboard  )  ทำจากไม้ที่เลื่อยเป็นแผ่นชิ้นบาง  ๆ  เรียกว่าเกล็ดนำมาวางซ้อนกันเป็นชั้นโดยวางสลับกันจนเป็นแผ่น  อัดด้วยกาว อบให้แห้งเหมาะสำหรับการหีบห่อสินค้าทีมีน้ำหนักไม่มาก
              ( 3 )  สแตนด์บอร์ด  (  Standboard  )  ทำมาจากไม้ที่เลื่อยให้เป็นเส้นเกลียว  นำไปผสมกับกาว อัดเป็นแผ่น  เหมาะสำหรับใช้ทำลังและแท่นรองรับสินค้า
          4.2ประเภทของบรรจุภัณฑ์ไม้
บรรจุภัณฑ์ไม้มีความหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้า  และความต้องการของผู้ใช้
แบ่งได้  7 ประเภท  คือ  กล่องไม้  ลังไม้  ลังไม้อัด  ถาดไม้  เข่งไม้ไผ่  กล่องกระดาษ  ถุงและซอง
          4.2.1  กล่องไม้  ( Box )  เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความเก่าแก่ทีสุดที่ทำจากไม้ มีการพัฒนาค่อนข้างน้อย  ปันจุบันกล่องไม้ที่นิยมใช้กันมี  5 แบบ  ดังรูป


ที่มา  :  http://www.thaigoodview.com/library/contest1/science04/110/body17.html

แปลข่าว

Biosphere - Fine Honduran Cacao

Chocolate lovers, behold the decadence that is Biosphere. Michal Slovák created this rich, 
dark packaging that is inspired by the nighttime experience of the rainforest but also reflects 
the high cacao percentage of the chocolate.
“Around 99.99% of world cacao tree production is growing on plantations. The rest, 0.01% 
of world production features very rare wild-grown cacao. Biosphere - 
Fine Honduran Cacao comes from Wampusirpi, a location immediately adjacent to
 Río Plátano Biosphere Reserve in Honduras which has been a World Heritage site 
and biosphere reserve since 1982. In 2011,UNESCO placed the reserve on the List of World 
Heritage. This premium couverture chocolate has exceptional quality and single origin.”
“It was important not to follow Aztec or Mayan motifs, which are very common on many 
chocolate labels from this region. Exceptional quality product needed exceptional design. 
The aim was to illustrate the atmosphere of the jungle where the cacao grows.
 Therefore the label for 80% dark chocolate was illustrated as rainforest at night. 
Tempered chocolate drops are packed in 5kg bags and are sold only to trade.”
Slovák succeeding in avoiding the clichés we often see on chocolate packaging and has
 designed something rooted in honest inspiration. Against the pitch black packaging, 
a dark brown label with chestnut details makes Biosphere look luxurious and mysterious.
 Cocoa pods and plant leaves decorate the front and back, 
and the small white text stands out against the background. Biosphere’s design is more intriguing 
the more you look at it, much like nature at night. 
It attracts buyers by simply being subdued and dark, offering a different experience than many 
other chocolate brands on the market

สรุปโดยย่อ

การออกแบบที่โดดเด่นมีจุดมุ่งหมายที่แสดงให้เห็น บรรยากาศของป่าที่โกโก้เติบโต ดังนั้นฉลาก 80%
ของช็อคโกแลต เป็นตัวอย่างของป่าฝนเขตร้อนในเวลากลางคืน

ที่มา : http://www.thedieline.com/blog/2015/8/24/biosphere-fine-honduran-cacao