งานกราฟิกมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังตัวอย่างที่พบ คือ ภาพวาดบนผนังถ้ำของมนุษย์โบราณ ที่แสดงออกถึงพิธีกรรมหรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การล่าสัตว์ การบวงสรวง จำนวนและชนิดของสัตว์ ในปัจจุบันสังคมมนุษย์ได้ใช้งานกราฟิกในเกือบทุกกิจกรรม เช่น การศึกษา การออกแบบการทดลอง การนำเสนอข้อมูลการแสดงออกทางศิลปะ การโฆษณาผลิตภัณฑ์ ภาพยนตร์และด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลทำให้การสร้างและใช้งานกราฟิกสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก งานกราฟิกจึงมีความสำคัญและมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์การสื่อความหมายระหว่างมนุษย์เป็นกิจกรรมทางสังคมของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ มนุษย์รู้จักใช้เครื่องมือที่เป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายและมีความแตกต่างกันตามความเจริญของสังคมมนุษย์ในแต่ละยุคสมัยมนุษย์ยุคเริ่มแรกยังไม่มีภาษาและสัญลักษณ์จึงใช้ของจริงและสภาวะจริงรอบตัวในการสื่อความหมายต่อกันเช่น
การบอกแหล่งอาศัยของสัตว์ จะใช้วิธีวิ่งนำหน้าเพื่อนไปยังแหล่งที่มีสัตว์อยู่แล้วชี้ให้เห็นวิธีการนี้จะยุ่งยากและเยิ่นเย้อ เพราะไม่มีสัญลักษณ์หรือเครื่องมือช่วยย่อให้กระบวนการสื่อความหมายสั้นและกระชับจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมื่อประมาณล้านปีมาแล้ว มนุษย์โฮโมอีเร็คทุส (Homo Erectus) ซึ่งจัดอยู่ในประเภทสัตว์ลำตัวตั้งตรง ยังไม่มีภาษาใช้ ได้ใช้ท่าทางและสิ่งของตามธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน กิ่งไม้ และกระดูกสัตว์ต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายต่อกัน เช่น
การสื่อความหมายถึงแหล่งล่าสัตว์ชนิดใดจะทำโดยการยกชูกระดูกของสัตว์ชนิดนั้น แล้วชี้ไปยังทิศทางที่มีสัตว์ชนิดนั้นอาศัยอยู่
เมื่อประมาณแสนปีมาแล้ว เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า โฮโมซาเปี้ยน (Homo Sapiens) รู้จักรวมกันเป็นกลุ่มอาศัยในถ้ำ ได้ใช้สีตามธรรมชาติเขียนลายเส้นบนหน้าตาและร่างกายเพื่อเป็นเครื่องหมายสื่อความหมายบอกบทบาท บอกหมู่เหล่า ลายเส้นบนเครื่องมือบอกวิธีใช้้และความเป็นเจ้าของและเขียนภาพเหมือนของคน สัตว์ และสิ่งของบนผนังถ้ำ เพียงการชี้ไปยังภาพบนผนังถ้ำก็จะสื่อความหมายต่อกันได้ว่า สัตว์ชนิดใด ใช้อาวุธอะไร ใช้คนเท่าไร ทำให้การล่าสัตว์ทำได้ดีขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น ภาพเหล่านี้ช่วยให้การสื่อความหมายทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น สามารถใช้อธิบายและสื่อความหมายเป็นเรื่องราวและเป็นพื้นฐานในการวิวัฒนาการมาเป็นภาษาพูดและภาษาเขียนในสมัยต่อมา
ที่มา:http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/366-00/
หลักการออกแบบ
การออกแบบกราฟิกและสื่อเป็นขั้นตอนหนึ่งของการสร้างสรรค์งานที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการงานกราฟิก งานทางด้านสิ่งพิมพ์ โดยมีหลักการคิดและวิธีการดำเนินการที่ต้องอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการ สื่อความหมาย หลักการทางศิลปะประยุกต์และทฤษฎีการรับรู้ทางจิตวิทยา การออกแบบงานกราฟิกจึงต้องกระทำอยู่บนพื้นฐานขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
การออกแบบงานกราฟิกและสื่อ ควรจะต้องคำนึงถึงหลักการ ดังนี้
1. ความมีเอกภาพ (unity)
2. ความกลมกลืน (harmony)
3. ความมีสัดส่วนที่สวยงาม (propertion)
4. ความมีสมดุล (balance)
5. ความมีจุดเด่น (emphasis)
การออกแบบงานกราฟิกและสื่อ ควรจะต้องคำนึงถึงหลักการ ดังนี้
1. ความมีเอกภาพ (unity)
2. ความกลมกลืน (harmony)
3. ความมีสัดส่วนที่สวยงาม (propertion)
4. ความมีสมดุล (balance)
5. ความมีจุดเด่น (emphasis)
ที่มา:http://www.jintana.mns.ac.th/g6.html
องค์ประกอบในการออกแบบงานกราฟิก
องค์ประกอบงานกราฟิก (Element of Design)
องค์ประกอบในงานกราฟิก แบ่งเป็น 8 ชนิด คือ
เส้น การที่จุดหลายๆจุดถูกน ามาวางต่อเนื่องกันจนเกิดเป็นเส้นรูปทรงต่างๆ ที่สื่อถึง
ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป
เส้นแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบราบเรียบ
เส้นตรงแนวตั้ง ให้ความรู้สึกมั่นคงแข็งแรง
เส้นทแยง ให้ความรู้สึกรวดเร็ว แสดงถึงการเคลื่อนไหว
เส้นตัดกัน ให้ความรู้สึกประสาน แข็งแกร่งหนาแน่น
ความหมายของบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ หมายถึงศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการคุ้มครองปกป้องสินค้าจากผู้ผลิตจนถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยด้วยต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
จากความหมายพอสรุปได้ว่าบรรจุภัณฑ์นั้นหมายถึง เรื่องของ วิทยาศาสตร์ และเรื่องของศิลปะที่ใช้เพื่อการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและทำให้เกิดความเสียหายกับสิ่งแวดล้อม และบรรจุภัณฑ์นั้นจะต้องปกป้องตัวสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดีจากแหล่งผลิตจนถึงมือลูกค้าโดยไม่ให้ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์นั้น ๆ จะต้องมีต้นทุนของการผลิตที่ไม่สูงจนเกินไป
ที่มา:http://www.crnfe.ac.th/packaging/unit1.htm
องค์ประกอบการออกแบบ
A. ชื่อร่วมหรือเครื่องหมายร่วม (collective mark)
B. ตราสินค้า (brand name)
- การตั้งชื่อไม่ควรเกิน 3 พยางค์ เป็นคำง่ายๆ จำได้แม่น มีเอกลักษณ์ และสื่อถึงตัวสินค้า
- การตรวจสอบ (ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับผู้อื่น)
- การออกแบบตรา สื่อถึงตัวสินค้าง่ายต่อการอ่านจดจำได้ง่าย (ลวดลายไม่ซับซ้อน)
C. ชื่อผลิตภัณฑ์ (product name)
D. จุดขาย ข้อความประชาสัมพันธ์ หรือบรรยายสรรพคุณของสินค้า รายละเอียดสินค้า ข้อบ่งใช้หรือวิธีบริโภค
E. ขนาดและการบรรจุ
เป็นระบบเมตริก ถ้าเป็นอาหารผง แห้ง หรือก้อนให้แสดงน้ำหนักสุทธิ ส่วนของเหลวให้แสดงเป็นปริมาตรสุทธิ และอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ถ้าแยกเนื้ออาหารออกจากน้ำได้ให้แสดงน้ำหนักอาหารด้วย
F. ข้อมูลทางโภชนาการ (สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร)
แสดงรายละเอียดของข้อมูลโภชนาการของอาหารนั้นๆ บนฉลากในรูปของชนิด และปริมาณของสารอาหารอยู่ภายในรูปแบบเดียวกัน เรียกว่า ข้อมูลโภชนาการ และยังรวมถึงการใช้ข้อความกล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่น โปรตีนสูงเสริมวิตามินซี เป็นต้น
- ข้อมูลโภชนาการที่ต้องระบุ ได้แก่ ชนิดสารอาหาร ปริมาณสารอาหาร
- ประโยชน์ของฉลากโภชนาการ ได้แก่ ช่วยให้ผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารและเลือกบริโภคให้เหมาะสมกับความต้องการ หรือภาวะทางโภชนาการของแต่ละคน เปรียบเทียบเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารชนิดเดียวกัน เป็นต้น
- ข้อมูลที่ต้องแสดงบนฉลากโภชนาการ
1. ข้อมูลที่บังคับ คือข้อมูลสารอาหาร ที่มีความสำคัญสำหรับคนไทย ได้แก่ ปริมาณพลังงานทั้งหมด คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร
2. ข้อมูลที่ไม่บังคับ ได้แก่ วิตามิน และเกลือแร่อื่นๆ แต่ต้องระบบต่อท้ายจากเหล็ก และเรียงจากมากไปหาน้อย
3. อาหารที่ต้องแสดงบนฉลากโภชนาการ ได้แก่ อาหารที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ อาหารที่มีการใช้คุณค่าทางโภชนาการ อาหารระบบกลุ่มผู้บริโภค เป็นต้น
4. สินค้าที่ต้องมีฉลากโภชนาการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับเด็ก ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์นมสดพร่องมันเนย ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงร่างกาย
G. คำเตือน หรือ ข้อควรระวังในการบริโภค
ตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มม. และคำเตือนตามที่กำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์บางประเภท เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อาหารที่ว่านหางจระเข้ สุรา เป็นต้น
H. สัญลักษณ์รับรองคุณภาพ เช่น FDA รวมถึงรหัสแท่ง (barcode) อย. เป็นต้น
- รหัสแท่ง คือ หมายเลขประจำตัวของสินค้าที่แปลงเป็นสัญลักษณ์แท่งสีเข้มสลับสีอ่อน ซึ่งมีความกว้างแตกต่างกัน เพื่อให้การอ่านสัญลักษณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และสามารถทำได้ ณ จุดใดก็ตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นจุดขาย จุดรับสินค้า หรือคลังสินค้า (จะกล่าวอธิบายในบทที่ 4)
- อย. ย่อมาจาก “สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา” ผลิตภัณฑ์ใดที่มีสัญลักษณ์ นี้พร้อมเลขสารบบอาหารอยู่บนฉลาก เป็นการแสดงเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถวางใจได้ว่า กระบวนการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขเรียบร้อยแล้ว
ทำอย่างไรจึงใช้ อย. ได้
1. เครื่องหมาย บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปนั้น ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานสถานที่และการผลิต ตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP : Good Manufacturing Practice)
2. จากนั้นยังต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ และการแสดงฉลาก โดยขอยื่นขึ้นทะเบียนตำรับอาหารเป็นรายผลิตภัณฑ์ (ยกเว้นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาหารทั่วไป เช่น น้ำตาล แป้ง ข้าวสาร ไม่ต้องยื่นขอ) และขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร
3. หากผ่านมาตรฐานก็ได้รับ เลขสารบบอาหาร (อย.) ประกอบด้วยตัวเลข 13 หลัก ซึ่งจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับสถานประกอบการ (X) และผลิตภัณฑ์ (Y) ดังนี้
1. XX แสดงถึงจังหวัดที่ตั้งของสถานประกอบการ
2. X แสดงสถานะของสถานประกอบการ และหน่วยงานที่อนุญาต
เลข 1-2 หมายถึงผู้ผลิต เลข 3-4 หมายถึงผู้นำเข้า และเลขคี่อนุญาตโดย อย. เลขคู่อนุญาตโดย จว.
3. XXX แสดงเลขที่ใบอนุญาตหรือเลขประจำสถานที่ผลิต
4. XX ปี พ.ศ. ที่ได้รับอนุญาต
5. Y หน่วยงานที่อนุญาตผลิตภัณฑ์นั้น เลข 1 อนุญาตโดย อย. เลข 2 อนุญาตโดย จว.
6. YYYY เลขลำดับที่ของผลิตภัณฑ์ของสถานประกอบการนั้นๆ ที่ได้รับอนุญาต“ระยะเวลาในการยื่นขอ หากข้อมูลความปลอดภัยและเอกสารหลักฐานครบถ้วน น่าจะแล้วเสร็จใน 16 วันทำการ หากต้องแก้ไขหรือส่งเอกสารเพิ่มเติม อาจต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น 20 วันทำการหรือมากกว่านั้น รายละเอียดขั้นตอนและเอกสารประกอบการขออนุญาตสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ www.fda.moph.go.th”
2. X แสดงสถานะของสถานประกอบการ และหน่วยงานที่อนุญาต
เลข 1-2 หมายถึงผู้ผลิต เลข 3-4 หมายถึงผู้นำเข้า และเลขคี่อนุญาตโดย อย. เลขคู่อนุญาตโดย จว.
3. XXX แสดงเลขที่ใบอนุญาตหรือเลขประจำสถานที่ผลิต
4. XX ปี พ.ศ. ที่ได้รับอนุญาต
5. Y หน่วยงานที่อนุญาตผลิตภัณฑ์นั้น เลข 1 อนุญาตโดย อย. เลข 2 อนุญาตโดย จว.
6. YYYY เลขลำดับที่ของผลิตภัณฑ์ของสถานประกอบการนั้นๆ ที่ได้รับอนุญาต“ระยะเวลาในการยื่นขอ หากข้อมูลความปลอดภัยและเอกสารหลักฐานครบถ้วน น่าจะแล้วเสร็จใน 16 วันทำการ หากต้องแก้ไขหรือส่งเอกสารเพิ่มเติม อาจต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น 20 วันทำการหรือมากกว่านั้น รายละเอียดขั้นตอนและเอกสารประกอบการขออนุญาตสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ www.fda.moph.go.th”
I. ผู้ผลิต/จัดจำหน่าย
โดยระบุคำว่า “ผลิตโดย” หรือ “นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย” และในกรณีอาหารนำเข้าให้แสดงชื่อประเทศผู้ผลิตด้วย นิยมไว้ตำแหน่งตรงข้ามกันกับด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ เพราะว่าเป็นจุดที่ไม่ต้องแสดงให้เห็นเด่นชัดมากนัก
J. วันผลิต/วันหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน
โดยมีคำว่า “ผลิต” หรือ “หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน” กำกับ
- อาหารที่เก็บได้ไม่เกิน 90 วัน ให้แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือ
- อาหารที่เก็บได้เกิน 90 วัน ให้แสดงเดือนปีที่ผลิต หรือ วันเดือนปีที่หมดอายุ/ควรบริโภคก่อน
- อาหารที่กำหนดให้ต้องแสดงวันเดือนปีที่หมดอายุ เช่น นมเปรี้ยว นมพาสเจอร์ไรส์ ขนมปัง ผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์
โดยระบุคำว่า “ผลิตโดย” หรือ “นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย” และในกรณีอาหารนำเข้าให้แสดงชื่อประเทศผู้ผลิตด้วย นิยมไว้ตำแหน่งตรงข้ามกันกับด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ เพราะว่าเป็นจุดที่ไม่ต้องแสดงให้เห็นเด่นชัดมากนัก
J. วันผลิต/วันหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน
โดยมีคำว่า “ผลิต” หรือ “หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน” กำกับ
- อาหารที่เก็บได้ไม่เกิน 90 วัน ให้แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือ
- อาหารที่เก็บได้เกิน 90 วัน ให้แสดงเดือนปีที่ผลิต หรือ วันเดือนปีที่หมดอายุ/ควรบริโภคก่อน
- อาหารที่กำหนดให้ต้องแสดงวันเดือนปีที่หมดอายุ เช่น นมเปรี้ยว นมพาสเจอร์ไรส์ ขนมปัง ผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์
ควรรู้
1. อาหารที่มีเนื้อที่ของฉลากทั้งแผ่นน้อยกว่า 35 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงส่วนประกอบของอาหารไว้ที่หีบห่อได้โดยไม่ต้องแสดงที่ฉลาก
2. อาหารที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ หรือระบุกลุ่มผู้บริโภคในการส่งเสริมการขายต้องแสดงฉลากโภชนาการด้วย
3. สำหรับอาหารทั่วไป (กลุ่ม 4) กำหนดให้แสดงชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือนำเข้า ปริมาณสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิต/หมดอายุ/ควรบริโภคก่อน
1. อาหารที่มีเนื้อที่ของฉลากทั้งแผ่นน้อยกว่า 35 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงส่วนประกอบของอาหารไว้ที่หีบห่อได้โดยไม่ต้องแสดงที่ฉลาก
2. อาหารที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ หรือระบุกลุ่มผู้บริโภคในการส่งเสริมการขายต้องแสดงฉลากโภชนาการด้วย
3. สำหรับอาหารทั่วไป (กลุ่ม 4) กำหนดให้แสดงชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือนำเข้า ปริมาณสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิต/หมดอายุ/ควรบริโภคก่อน
ที่มา:http://goo.gl/U3jkIY
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น